ความสำคัญของการตรวจแยกเชื้อ TB และ NTM
วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis จัดอยู่ในกลุ่ม Mycobacterium tuberculosis complex วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่(ร้อยละ 80) มักเกิดที่ปอด (Pulmonary tuberculosis) และอีก ร้อยละ 20 เกิดที่อวัยวะอื่นนอกปอด (Extra Pulmonary tuberculosis) ได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเชื้อ Mycobacterium ชนิดอื่นๆอีก ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. Mycobacterium tuberculosis complex (MTBC) เป็นสาเหตุของวัณโรคในคนและสัตว์ มีจำนวน 8 สายพันธุ์ ที่พบบ่อยที่สุดคือ Mycobacterium tuberculosis สายพันธุ์อื่นที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ เช่น Mycobacterium africanum พบได้ในแถบแอฟริกา Mycobacterium bovis มักก่อให้เกิดโรคในสัตว์ซึ่งอาจติดต่อมาถึงคนได้ โดยการบริโภคนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ และเป็นสายพันธุ์ที่นำมาผลิตเป็นวัคซีน BCG
2. Nontuberculous mycobacteria (NTM) มีจำนวนมากกว่า 140 สายพันธุ์ เช่น Mycobacterium avium complex (MAC) พบในสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ หรือพบในสัตว์ เช่น นก ซึ่งมากกว่า 40 สายพันธุ์ ที่ทำให้เกิดโรคในคน โดยเฉพาะผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
3. Mycobacterium leprae เป็นสาเหตุของโรคเรื้อน
ในปัจจุบันพบว่า Mycobacterium ชนิด Nontuberculous mycobacteria (NTM) เป็นสาเหตุของการติดเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งการจัดจำแนกเชื้อทั้งสองกลุ่มนี้ มีความสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการรักษาที่แตกต่างกัน รวมทั้งระยะเวลาที่รักษาก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้นหากสามารถจัดจำแนกเชื้อทั้งสองกลุ่มนี้ออกจากกันได้จะเป็นประโยนชน์อย่างมากต่อตัวผู้ป่วยเอง และเป็นประโยชน์ในด้านการตัดสินใจเลือกการรักษาของแพทย์
เชื้อ Non-tuberculous Mycobacteria(NTM) เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่พบว่า มีการกระจายตัวอยู่ในธรรมชาติสูงทั้งในดินและน้ำ และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในคนได้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ผู้สูงอายุหรือผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ โดยการติดเชื้อนี้จะมีผลต่อการเกิดโรคที่บริเวณปอด ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง หรือส่วนต่างๆของร่างกาย รวมทั้งผิวหนัง ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อนี้ ส่วนใหญ่ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีเสมหะมาก มีผลเอกซเรย์ของปอดผิดปกติ และมีอาการไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ซึ่งกลุ่มอาการแสดงดังกล่าว คล้ายวัณโรคปอด
เมื่อตรวจสอบความไวต่อยารักษาวัณโรค พบว่า ผู้ติดเชื้อ NTM มากกว่าร้อยละ95 ดื้อยารักษาวัณโรค ซึ่งหากไม่มีการตรวจคัดแยกผู้ติดเชื้อ NTM ออกจากผู้ป่วยวัณโรค จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพ และอาจส่งผลให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น
วิธีการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
วิธีการทางอณูชีววิทยา (Real-time PCR)
อ้างอิง