การตรวจสารเสพติด คืออะไร? ต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายเสมอไปหรือไม่?

การตรวจสารเสพติด คืออะไร? ต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายเสมอไปหรือไม่?


 

การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ คืออะไร?

           การตรวจสารเสพติด (Drug testing) เป็นการตรวจวิเคราะห์หาสารผิดกฎหมาย หรือสารที่ไม่ผิดกฎหมายแต่อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ ซึ่งโดยปกติหากมีการเสพสารเสพติดเข้าไป ร่างกายจะพยายามกำจัดสารเคมีเหล่านั้นออกมาผ่านปัสสาวะ ซึ่งจะตรวจพบในไม่กี่วันยาวไปจนหลังหลายสัปดาห์หลังเสพสารเสพติด


 

การตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะเหมาะกับใคร?

การตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะถูกใช้ค่อนข้างบ่อย โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องผิดกฏหมายเพียงอย่างเดียว ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเหตุผลที่สามารถตรวจสารเสพติดได้

  • เพื่อขอใบรับรองแพทย์ในการใช้สมัครงาน
  • เพื่อประกอบการวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น
  • เพื่อประเมินอาการจากการใช้ยาเกินขนาด
  • เพื่อติดตามผลการรักษาจากการพยายามหยุดยา
  • ตรวจตามนโยบายบริษัท บางบริษัทอาจมีการตรวจสารเสพติดเป็นระยะเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน เช่น ผู้บริการด้านขนส่ง พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ

 

ตรวจสารเสพติดตรวจอะไรบ้าง?

สารเสพติดบางชนิด อาจสามารถใช้ได้ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นการตรวจสารเสพติดจึงสามารถตรวจได้หลายรายการ ตัวอย่างดังนี้

  • แอมเฟตามีน (Amphetamine)
  • เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine)
  • บาร์บิเชอริต (Barbiturate)
  • กัญชา (Cannabis)
  • โคเคน (Cocaine)
  • เมทาโดน (Methadone)

 

วิธีการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ

1. การตรวจเบื้องต้น (Screening test) เป็นการตรวจโดยใช้ชุดตรวจสอบเบื้องต้น (Rapid tests) ตามหลักภูมิคุ้มกันวิทยา

 

2. การตรวจยืนยันผล (Confirmation test) เป็นการตรวจยืนยันผล เมื่อผลการตรวจเบื้องต้นเป็นบวก โดยใช้เทคนิคและเครื่องมือทางเคมีวิเคราะห์ที่มีความจำเพาะจงสูง  มีความไวสูง รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ ตัวอย่างเทคนิคที่ใช้ตรวจยืนยันผล เช่น GC-MS Technique

 

 

แหล่งอ้างอิง

  1. https://www.arnoldventures.org/stories/the-fraught-and-expensive-cycle-of-drug-testing
  2. https://hdmall.co.th/c/drug-test
  3. https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/9424-2018-11-14-08-39-46
  4. https://www.google.com/search?q=drug+testing&tbm=isch&ved=2ahUKEwj0ttn5j4j_AhX-DLcAHXYwAxMQ2-cCegQIABAA&oq=dru&gs_lcp=CgNpbWcQARgBMgQIIxAnMgQIIxAnMgUIABCABDIICAAQgAQQsQMyBQgAEIAEMgcIABCKBRBDMgUIABCABDIHCAAQigUQQzIFCAAQgAQyBQgAEIAEOgcIABATEIAEOgcIIxDqAhAnOgQIABADUNcGWJ0dYIguaAFwAHgAgAFYiAGtApIBATSYAQCgAQGqAQtnd3Mtd2l6LWltZ7ABCsABAQ&sclient=img&ei=XfRqZLSUGf6Z3LUP9uCMmAE&bih=754&biw=1536&rlz=1C1CHZN_enTH992TH992#imgrc=C6_t0q3sOuNwcM