ภัยเงียบ ติดง่าย ใกล้ตัว “วัณโรคระยะแฝง”

ภัยเงียบ ติดง่าย ใกล้ตัว

วัณโรคระยะแฝง

 

 

          วัณโรค เป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis (TB) โดยติดต่อผ่านละออง เสมหะจากการไอ จาม หรือแม้กระทั่งการพูดคุยหรือหัวเราะ  เมื่อเชื้อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบที่บริเวณปอด เจ็บหน้าอก  ขณะไอหรือหายใจ เสมหะมีเลือดปน และสามารถแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ จนกระทั่งเกิดอาการแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบฝีในปอดมีน้ำในช่องหุ้มปอด และนำไปสู่     การเสียชีวิตได้ในที่สุด

        วัณโรคแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแฝง (Latent tuberculosis infection, LTBI) และระยะแพร่กระจาย (Active TB) ถึงแม้ว่าสาเหตุของอาการป่วย และเสียชีวิตจะเกิดจากวัณโรคระยะแพร่กระจายก็ตาม แต่การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคระยะแฝง ก็ถือเป็นแนวทางสำคัญในการป้องกันผู้ป่วยวัณโรคในอนาคต

 

        วัณโรคระยะแฝง เป็นระยะที่ไม่แสดงอาการของโรคและไม่สามารถแพร่เชื้อได้เนื่องจากภูมิคุ้นกันของร่างกายยับยั้งไว้อยู่ แต่เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายอ่อนแอ เชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและทำให้      ผู้ป่วยแสดงอาการของวัณโรคออกมา

        7 กลุ่มเสี่ยงเป็นวัณโรคระยะแฝง

                ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยวัณโรคระยะแฝงสามารถพัฒนาเป็นระยะแสดงอาการได้ การค้นพบผู้ป่วยวัณโรคระยะแฝงทำให้มีโอกาสได้รักษาก่อนที่เชื้อจะลุกลาม หากสามารถวินิจฉัยได้เร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อการการป้องกันและลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรคได้มากเท่านั้น บุคคลที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและมีโอกาสเป็นวัณโรคระยะแฝง ได้แก่

 

             

          1.บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล

        2.ผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค

        3.ผู้ต้องขังและผู้อาศัยในสถานกักกัน

        4.ผู้ติดเชื้อเอชไอวี

        5.ผู้ป่วยโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต เรื้อรังหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

        6.ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ที่สูบบุหรี่ หรือมีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคเบาหวานร่วม

        7.แรงงานข้ามชาติ

 

 

 

 

 

        เ้ดก้เก้

ะ้เ้เก้เก้เก้เก้เ

เว้น

เว้น

เว้น

เว้น

เว้น

การตรวจวินิจฉัยวัณโรคระยะแฝง

        วิธีตรวจวินิจฉัยที่ได้ผลน่าเชื่อถือ ได้แก่ การตรวจระดับสาร interferon-gamma (IFN-γ) ซึ่งร่างกายหลั่งออกมาเมื่อมีการติดเชื้อวัณโรค เรียกว่า Interferon-gamma Release Assay (IGRA) โดยใช้หลักการ Enzyme-linked Immunosorbent Assay (ELISA)

        WANTAI TB-IGRA เป็น 1 ใน 2 ของชุดน้ำยาตรวจ IGRA ที่ได้รับการแนะนำจากองค์การอนามัยโลกว่ามีความไวความจำเพาะสูง และมีประสิทธิภาพในการตรวจหาระดับของ interferon-gamma ในผู้ป่วยวัณโรคและวัณโรคระยะแฝงได้ โดยชุดน้ำยา WANTAI TB-IGRA เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Beijing Wantai Biological Pharmacy Enterprise Co. Ltd. ประเทศจีน

 

 

ข้อดีของการตรวจวัณโรคระยะแฝง ด้วยการทดสอบ IGRA

         

เว้น

          1.ไม่เกิดผลบวกปลอมจากการฉีดวัคซีน BCG

         2.สามารถค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง และติดตามผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค และวัณโรคระยะแฝงได้

         3.มีความจำเพาะและความไวสูง เมื่อเทียบกับการทดสอบทางผิวหนังด้วยทุเบอร์คุลิน

         4.ใช้ตัวอย่างเลือดน้อย เพียง 4 มิลลิลิตร

 

 

 

 

เว้น

เว้น

เว้น

เว้น

TB-IGRA ด้วยวิธี Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA)

 

อ้างอิง

  1. World Health Organization (WHO). (2565).  Tuberculosis. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tuberculosis
  2. Use of alternative interferon-gamma release assays for the diagnosis of TB infection: WHO policy statement Geneva: World Health Organization; 2022. Licence: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
  3. กรมควบคุมโรค. สำนักวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 = National Tuberculosis control Programme Guidelines, Thailand, 2018 .-- กรงุเทพฯ : สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค, 2561. 120 หน้า.
  4. Use of alternative interferon-gamma release assays for the diagnosis of TB infection: WHO policy statement Geneva: World Health Organization; 2022. Licence: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.

 

mail สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ info@aechealthcare.com