โรคไข้เลือดออก โรคระบาดที่ควรระวังในช่วงหน้าฝน

โรคไข้เลือดออกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี่ไม่อันตรายอย่างที่คิด

หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เริ่มต้น

 

ไข้เลือดออกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี 

           มักจะพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝน ช่วงพฤษภาคมถึงกันยายนโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเชื้อไวรัสเดงกีมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4  เมื่อยุงลายดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา

Saint Louis School

อาการของโรคไข้เลือดออก
           หลังรับเชื้อไวรัสเดงกี่เข้าสู่ร่างกาย จะใช้เวลาประมาณ 5-8 วัน อาการของโรคจะปรากฏขึ้น โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

1. ไข้สูงลอยนาน 2-7 วัน

2. มีอาการเลือดออกบ่อย โดยมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง

3. ภาวะตับโต สามารถคลำบริเวณใต้ชายโครงขวา และเมื่อกดแล้วจะเจ็บ

4. ภาวะการไหลเวียนเลือดล้มเหลว และอาจเกิดภาวะช็อค

การรักษา

1. หมั่นเช็ดตัว ดื่มน้ำบ่อยๆ

2. ให้ยาลดไข้พาราเซตามอล (ห้ามให้แอสไพริน บูเฟน เพราะจะทำให้การทำงานของเกล็ดเลือดเสียไป)

3. ควรไปโรงพยาบาลตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มมีอาการ จะช่วยลดภาวะเลือดออก และภาวะช็อคแทรกซ้อนได้

            เนื่องจากอาการของโรคไข้เลือดออกในระยะแรกๆ คล้ายกับโรคติดเชื้อหลายโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ และไข้จากสาเหตุอื่น หากพบว่าผู้ป่วยมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว และจำนวนเกล็ดเลือดลดต่ำลง เป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเดงกี แต่ถ้าเกล็ดเลือดลดต่ำมาก เม็ดเลือดขาวต่ำ เม็ดเลือดแดงเข้มข้นขึ้น ความดันโลหิตต่ำ ร่วมกับมีชีพจรเบาเร็ว เป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีโอกาสเข้าสู่ระยะช็อกซึ่งจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในห้องดูแลผู้ป่วยหนักทันที ดังนั้น นอกเหนือจากการสังเกตอาการและซักประวัติของผู้ป่วยแล้ว แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกด้วยการตรวจเพิ่มเติม และตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)

            เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบทั้งหมดของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และความเข้มข้นของเลือด ซึ่งจะตรวจโดยใช้เครื่องนับเม็ดเลือดและแยกชนิดของเม็ดเลือดขาวอัตโนมัติ โดยเครื่อง CBC ของ Sysmex นอกเหนือจากสามารถตรวจหาความสมบูรณ์ของเลือดแล้ว ยังมีพารามิเตอร์อื่นๆที่น่าสนใจ เช่น IPF (Immature Platelet Fraction) โดยทาง Sysmex ได้มีการศึกษาพบว่าสามารถใช้ค่า IPF เป็นตัวทำนายเกี่ยวกับ Platelet Recovery ในกลุ่มคนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกี่ได้

การตรวจ Dengue NS1 Antigen, Dengue Antibody

            การตรวจผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกนิยมตรวจคัดกรองผู้ป่วยโดยการใช้วิธี Immunochromatographic หรือ rapid tests โดยจะเป็นการตรวจ Dengue NS1 antigen  ร่วมกับ Dengue IgM/IgG antibody จากซีรั่มหรือพลาสมาของผู้ป่วย การตรวจพบ Dengue NS1 antigen  แสดงว่า ผู้ป่วยกำลังติดเชื้อไวรัส Dengue ส่วนการตรวจพบ Dengue IgM antibody แสดงว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อครั้งแรก ในขณะที่การตรวจพบ Dengue IgM และ IgG antibody แสดงว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อครั้งสอง วิธีนี้เป็นวิธีที่รวดเร็วแปลผลภายใน 30 นาที แต่เป็นการตรวจเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ต้องมีการแปลผลร่วมกันกับการตรวจ CBC หรือตรวจยืนยันด้วยเทคนิคทาง Molecular

 

เเหล่งอ้างอิง

1. https://bit.ly/3DCX8U2   2. https://bit.ly/3QMrMxl


mail สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ info@aechealthcare.com