การตรวจไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus) ด้วย VERSANTTM HCV RNA assay

ไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร
ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus; HCV) ถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ จากการรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่ามีผู้ติดเชื้อประมาณ 71 ล้านคนทั่วโลก และมีความชุกสูงในทวีปยุโรปและแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก สำหรับประเทศไทยจากข้อมูลผู้บริจาคโลหิต พบความชุกการติดเชื้อโดยเฉลี่ยร้อยละ 0.5 – 2 ของประชากรทั่วไป ประมาณการณ์ว่าในปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังในประเทศไทยประมาณ 300,000 - 500,000 คน


ไวรัสตับอักเสบซีเป็นไวรัสชนิด RNA ที่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2532 พบว่าเป็นไวรัสที่สามารถทำให้เกิดโรคตับอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ตลอดจนการเป็นตับแข็งและมะเร็งตับ สามารถติดต่อได้ผ่านทางเลือด ความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ได้แก่ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับเลือดของผู้ที่ติดเชื้อ การได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือดที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัส เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อ


การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสามารถทำได้โดยการตรวจหาแอนตี้บอดี้ต่อไวรัสตับอักเสบซี (anti-HCV) และตรวจหาปริมาณ HCV-RNA ในกระแสเลือดเพื่อดูระดับความรุนแรงของการติดเชื้อและใช้ในการติดตามการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอีกด้วย นอกจากนี้ก่อนเริ่มให้การรักษาต้องตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อเพื่อใช้วางแผนการรักษาให้เหมาะสม รวมทั้งประเมินระดับการทำงานของตับ ความรุนแรงของอาการอักเสบและการเกิดพังผืดที่ตับเพื่อตรวจดูความรุนแรงของโรค โดยวัดปริมาณเอมไซม์ตับ เช่น AST, ALT เป็นต้น

 

การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในกระแสเลือด

  1. ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ

    เพื่อใช้ในการติดตามการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อ HCV ร่วมกับอาการทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ

  2. วิธีการตรวจวิเคราะห์

    ตรวจหาปริมาณ HCV RNA ด้วยชุดน้ำยา VERSANT® HCV RNA 1.0 Assay (kPCR)

  3. หลักการตรวจวิเคราะห์

    หลักการตรวจวิเคราะห์ของชุดน้ำยา VERSANT® HCV RNA 1.0 Assay (kPCR) คือ การตรวจหาปริมาณ HCV RNA จากตัวอย่างพลาสมา หรือซีรั่ม ด้วยขั้นตอนของการทำปฏิกิริยา Reverse transcription (RT) ร่วมกับ kinetic polymerase chain reaction (kPCR)

      คุณสมบัติทั่วไปของชุดน้ำยา
      Target region:  5’ untranslated region (5’ UTR)
      Dynamic Range:  15 to 100,000,000 IU/mL
      Limit of detection:  15 IU/mL (Upper 95% CI 14.2 IU/mL)
      Genotype Detection:  เชื้อไวรัส HCV Genotype 1-6

     

  4. การเก็บสิ่งส่งตรวจ
    • การเตรียมผู้ป่วย  

      ไม่มี

    • ชนิดของสิ่งส่งตรวจ
      • เลือดครบส่วนที่มี  K2EDTA หรือ ACD เป็นสารกันเลือดแข็ง
      • เลือดครบส่วนที่เก็บด้วย Plasma preparation tubes หรือ Serum Separator Tubes (SST)
      • พลาสมา หรือ ซีรัม (ปริมาตรไม่น้อยกว่า 700 µL)

        หมายเหตุ การเตรียมพลาสมา คือ ให้นำเลือดครบส่วนมาปั่นที่ความเร็วรอบ 1,000-1,3000 xg เป็นเวลา 10-15 นาที จากนั้นดูดแยกพลาสมาลงในหลอดใหม่

  5. การนำส่งสิ่งส่งตรวจ
    ชนิดของตัวอย่าง อุณหภูมิ ระยะเวลาในการนำส่ง

    เลือดครบส่วน

    อุณหภูมิห้อง (15-25°C) ภายใน 6 ชั่วโมง
    2-8°C ภายใน24 ชั่วโมง

    พลาสมา หรือ ซีรัม

    อุณหภูมิห้อง (15-25°C) ภายใน 24 ชั่วโมง
    2-8°C ภายใน 72 ชั่วโมง
  6. ระยะเวลาในการรายงานผล

    7 วันทำการ

  7. การรายงานผล
    - ช่วงค่าที่ตรวจวัดได้        15 - 100,000,000 IU/mL
    - ค่าวิกฤติ          ไม่มี
     
    ผลการตรวจวิเคราะห์ การแปลผล
    Target not detected ตรวจไม่พบ HCV RNA ด้วยวิธีการนี้
    รายงานผล “HCV RNA not detected”
    <15 IU/mL ปริมาณ HCV RNA ในตัวอย่างต่ำกว่า Lower Limit of Quantitation
    รายงานผล “HCV RNA detected less than 15 IU/mL”
    ปริมาณ HCV RNA ปริมาณ HCV RNA ในตัวอย่างอยู่ในช่วงระหว่าง Lower Limit of Quantitation กับ Upper Limit of Quantitation
    รายงานผล “ปริมาณ HCV RNA (IU/mL) ที่ตรวจวัดได้”
    >1 x 108 IU/mL ปริมาณ HCV RNA ในตัวอย่างสูง Upper Limit of Quantitation รายงานผล “HCV RNA detected greater than 1 x 108 IU/mL”
  8. สิ่งรบกวนต่อการตรวจวิเคราะห์
    • สารกันเลือดแข็งชนิด Heparin
    • ตัวอย่างเลือดที่มีการ Hemolysis (Hb concentration มากกว่า 200 mg/dL)
    • แอลกฮอล์
    • แป้งจากถุงมือ
    • ตัวอย่างที่ไม่เก็บรักษาตามอุณหภูมิที่เหมาะสม
  9. ระยะเวลาที่สามารถขอตรวจเพิ่มได้

    1 เดือน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.healthcare.siemens.com/molecular-diagnostics